ความรู้และข้อควรระวังการเกิดเพลิงไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน

ในปัจจุบันอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราเป็นอย่างมากทั้งในเรื่องการติดต่อสื่อสารและช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์มากมาย  แต่กระนั้นหากเราใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างไม่ถูกวิธีหรือไม่ดูแลบำรุงรักษา จะสามารถทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้เช่นกัน เช่น ทำให้ไฟดูด หรือ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น

         
                                                                                      

ประจุหรืออิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่เราจะเรียกว่า"กระแสไฟฟ้า"(Current) โดยจะเคลื่อนที่อยู่ภายใน"ตัวนำไฟฟ้า"ซึ่งเป็นวัสดุประเภทโลหะ เช่น ทองแดง และอุปกรณ์ไฟฟ้า
                                                  

                     แสดงตัวนำไฟฟ้าที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน                     แสดงตัวนำไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน      
 

             อุปกรณ์ไฟฟ้าจะสามารถทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าที่อยู่ภายในสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่การที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าก็สามารถ ทำให้ตัวนำไฟฟ้าเกิดอุณหภูมิสูงจนเกิดเพลิงไหม้ได้ ถ้าหากอยู่ภายใต้ 2 เงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. กระแสไฟฟ้าเกินขนาดที่ตัวนำไฟฟ้าหรือสายไฟฟ้า จะรับได้ (Over Current)
สายไฟฟ้าที่มีขนาดต่างกันก็มีขีดความสามารถรับกระแสไฟฟ้าได้ต่างกันหากกระแสไฟฟ้ามีปริมาณมากเกินที่ขนาดสายไฟฟ้ารับได้ ก็จะเป็นผลให้โลหะตัวนำไฟฟ้านั้นมีอุณหภูมิสูงมาก
ระดับพันองศาเซลเซียสเลยทีเดียว ซึ่งเงื่อนไขนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี เช่น
- การเลือกใช้สายไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กเกินไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้ามาก
- การใช้อุปกรณ์หลายชิ้น โดยใช้สายไฟเส้นเดียวร่วมกันแล้วใช้ปลั๊กแยกไปหาอุปกรณ์อีกที (Over Load)
                                                 

                                                           ทำให้สายไฟฟ้าที่เป็นเส้นรวมมีกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นจนอาจเกินขนาดที่สายไฟฟ้าจะรับได

-สายไฟฟ้าแหว่งหายไปบางส่วน หรือสายไฟที่มีเส้นย่อยๆหลายๆเส้นขาดไปบางส่วนทำให้พื้นที่ที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านส่วนนั้นมีขนาดเล็กลง จนอาจไม่พอที่จะรองรับกระแสไฟฟ้า
ที่กำลังไหลผ่านอยู่ได้

                                               

- การลัดวงจร (Short Circuit) ในภาวะปกติ กระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วหนึ่งผ่านสายไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าและไหลออกผ่านสายไฟฟ้าอีกเส้นหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่งซึ่งกระแสไฟฟ้า
จะมีค่าปกติ แต่ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่งโดยที่ไม่ได้ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า จะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟมีค่าสูงมากซึ่งเกินกว่าขนาดของสายไฟฟ้าจะรับ
                                       
                                                
กรณีดังกล่าวนี้อาจจะเกิดขึ้นได้จากการที่ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้ามีสภาพชำรุดฉีกขาด ซึ่งการชำรุดฉีกขาดนี้อาจจะเกิดได้จาก มีสัตว์มากัดแทะ ถูกของมีคมบาด ถูกกดทับ ถูกบานประตูหนีบ หรือความร้อนจากภายนอกที่พอจะทำให้ฉนวนหุ้มหลอมละลาย เป็นต้น การลัดวงจรนี้ไม่จำเป็นต้องเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า เพียงแค่เสียบปลั๊กทิ้งไว้ ก็มีโอกาสเกิดเหตุการณ์ในกรณีนี้ได้  แต่ที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการลัดวงจรจะทำให้กระแสไฟฟ้ามีค่าสูงมาก มันจะทำให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินขนาด เช่น เบรกเกอร์ หรือ ฟิวส์ ตัดวงจรโดยฉับพลัน ทำให้ป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้
- การสัมผัสกันอย่างไม่แน่นหนาของจุดเชื่อมต่อระหว่างตัวนำไฟฟ้าคนละชิ้นกัน (Loose Contact)

                                                           

             กระแสไฟฟ้าจะต้องไหลผ่านจุดที่เชื่อมต่อ แต่ถ้าหากจุดที่เชื่อมต่อมีพื้นที่ที่สัมผัสกันน้อยมากจุดเชื่อมต่อนั้นก็ไม่ต่างไปจากสายไฟที่มีขนาดเล็กเท่ากับพื้นที่ที่สัมผัสนั้นหากพื้น
ที่ที่สัมผัสเล็กไปไม่พอที่จะรองรับกระแสไฟฟ้าที่กำลังไหลผ่านอยู่ได้ ก็จะเกิดอุณหภูมิสูงที่จุดนั้น
             กระแสไฟฟ้าจากเสาไฟฟ้าภายนอกบ้านที่ไหลเข้ามายังเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ไม่ได้ไหลผ่านสายไฟฟ้าเพียงเส้นเดียว มันจะต้องไหลผ่านสายไฟฟ้าหลายเส้นและอุปกรณ์ ์หลายชิ้นเช่น สะพานไฟ เบรกเกอร์ ฟิวส์ สวิตซ์ ปลั๊ก ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อระหว่างตัวนำไฟฟ้าคนละชิ้นกันหลายจุดมาก แม้แต่ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้าเองก็ยังมีจุดเชื่อมต่อหลายจุด การเชื่อมต่ออาจจะมีหลายรูปแบบเช่น การขันน๊อตยึด การใช้สปริงดัน การใช้แผ่นโลหะหนีบกัน การบัดกรี หรือการมัดพันสายไฟ เป็นต้น
             ในกรณีนี้  อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินขนาด เช่น เบรกเกอร์ หรือ ฟิวส์ จะไม่ตัดวงจร เนื่องจากกระแสไฟฟ้าไม่ได้เกินขนาดของเบรกเกอร์และฟิวส์


                 


2. การอาร์ค (ARC)

ความหมายของการอาร์คคือ การที่อิเล็กตรอนหลายๆ ตัวเคลื่อนที่ผ่านช่องว่าง (ระหว่างตัวนำไฟฟ้าคนละชิ้น) ในเส้นทางเดียวกัน ทำให้เราเห็นเป็นลำแสงหรือ  ประกายไฟ (Spark)
ยกตัวอย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ คือฟ้าผ่า และเมื่อเวลาเสียบปลั๊กไฟเข้า-ออกในบางครั้งที่เห็นเป็นแสงหรือประกายไฟแวบออกมา พร้อมกับมีเสียงดังเปรี๊ยะ

                                                                                
การอาร์คเกิดจากมีตัวนำไฟฟ้า 2 ชิ้นที่ศักย์ไฟฟ้าต่างกันไม่ได้สัมผัสกันแต่อยู่ใกล้ชิดกันมากจนมีแรงดึงให้อิเล็กตรอนหลุดจากฝั่งหนึ่งวิ่งผ่านช่องว่างมาชนอีกฝั่งหนึ่ง เมื่ออิเล็กตรอนวิ่งมาชนกับอีกฝั่งหนึ่งบริเวณที่โดนชนจะเกิดอุณหภูมิสูงมากส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นการอาร์คขณะเสียบปลั๊กไฟ จะเป็นการอาร์คในเวลาที่สั้นมาก ความร้อนที่เกิดขึ้นก็ระบาย
ออกไปในเวลาที่รวดเร็วจึงไม่ได้ทำให้เกิดเพลิงไหม้แต่ถ้าเกิดการอาร์คเป็นเวลาที่นานกว่านี้ ความร้อนที่เกิดขึ้นก็สามารถแผ่ไปยังวัสดุอื่นที่ติดไฟทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

การอาร์คที่เป็นเวลานานพอจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ อาจจะเกิดจาก

                                                                          
- การสัมผัสกันอย่างไม่แน่นหนาของจุดเชื่อมต่อระหว่างตัวนำไฟฟ้าคนละชิ้นกัน
 คืออาจจะมีบางจังหวะที่ทั้งสองชิ้นไม่ได้สัมผัสกันและเกิดช่องว่างที่พอดีทำให้เกิดการอาร์ค
- การมีสนิมโลหะจับที่จุดเชื่อมต่อระหว่างตัวนำไฟฟ้าคนละชิ้นกัน ก็ทำให้เกิดความร้อนขึ้นได้คล้ายกับการสัมผัสไม่แน่น 
- การลัดวงจร โดยที่สายไฟฟ้าต่างขั้วกันไม่ได้สัมผัสกันแต่อยู่ใกล้กันมาก ก็ทำให้เกิดการอาร์คขึ้นได้เช่นกัน อาจจะเกิดได้จากฉนวนหุ้มสายไฟฟ้ามีการชำรุดฉีกขาด หรือบางทีฉนวน
ไม่ได้ฉีกขาดแต่มีสภาพแห้งกรอบทำให้สภาพความเป็นฉนวนลดลงไปจนสามารถเกิดการอาร์คได้ ซึ่งกรณีนี้กระแสไฟฟ้าอาจจะไม่มากพอที่จะทำให้ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ไม่ตัดวงจรก็เป็นได
                                                              

                                                 

ยกตัวอย่างชนิดของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เคยทำให้เกิดเพลิงไหม้

สายไฟฟ้าที่ชำรุดเสื่อมสภาพ


                                                                   

- สามารถทำให้เกิดการลัดวงจรได้

เต้ารับ-เต้าเสียบไฟฟ้า (ปลั๊กไฟ)

                                                                                  
สวิตซ์ต่างๆ ทั้งอยู่ที่ผนัง และอยู่ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้า


                  

- การทำงานของสวิตซ์ส่วนใหญ่จะใช้หลักการของแตะสัมผัสกันของแผ่นโลหะ ซึ่งอาจทำให้เกิดการสัมผัสไม่แน่นได้

มิเตอร์ไฟฟ้า, เบรกเกอร์, สะพานไฟ

                                 

- สามารถเกิดเพลิงไหม้จากสายไฟที่ต่อเข้ากับขั้วของอุปกรณ์ มีการขันน๊อตยึดติดกันไม่แน่นได้
- สายไฟฟ้าที่ร้อยเข้ามายังกล่องเบรกเกอร สามารถถูกขอบกล่องบาดจนฉนวนฉีกขาดและลัดวงจรได้

ฟิวส์
 


                    

- ฟิวส์ที่ติดตั้งอยู่ภายในอุปกรณ์ไฟฟ้า อาจจะติดตั้งโดยการใช้สปริงดัน หรือการใช้แผ่นโลหะหนีบกัน ซึ่งสามารถสัมผัสกันไม่แน่นที่ขั้วฟิวส์ได้

หลอดไฟส่องสว่าง


                     

- ขั้วของหลอดไฟ รวมไปถึงขั้วต่อสายไฟที่จุดอื่นๆ ภายในรางยึดหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ อาจสัมผัสกันไม่แน่นจนทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้

อุปกรณ์ทำความร้อน เช่น เตารีด เครื่องทำน้ำอุ่น กระทะไฟ?ฟ้า ฯลฯ


                  

- ตัวมันเองมีหน้าที่ทำให้เกิดความร้อนอยู่แล้ว แต่ก็มีกรณีที่เกิดจากความประมาทของบุคคลเช่นลืมปิดเตารีดหรือเปิดเตาไฟฟ้าทิ้งไว้ ก็เคยทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นมาแล้ว
- ประเด็นขั้วต่อสายไฟที่สัมผัสไม่แน่น ก็เช่นเดียวกัน

อุปกรณ์ทำความเย็นเช่นตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ


                              

- เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้กระไฟฟ้ามากอยู่แล้ว ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดความร้อนจากกรณี ขั้วต่อสัมผัสกันไม่แน่น มากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า
- อีกกรณีหนึ่ง คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าพวกนี้จะมีส่วนที่ต้องระบายความร้อนออกหากตั้งวางให้ส่วนที่ระบายความร้อนชิดผนังเกินไปหรือมีสิ่งของวางขวางการระบายความร้อน ก็จะทำให้อุณหภูมิบริเวณนั้นสูงขึ้นไป จนอาจจะทำให้ฉนวนหุ้มสายไฟแห้งกรอบเสื่อมสภาพหรือหลอมละลาย และอาจเกิดการลัดวงจรตามมาได้
                                                                
                                                                         อุปกรณ์ที่มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ เช่น พัดลม เครื่องซักผ้า ฯลฯ

- ถ้ามอเตอร์มีความฝืดหมุนช้าลงหรือไม่หมุนจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอุปกรณ์มากขึ้นกว่าการทำงานปกตทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะเกิดเพลิงไหม้จากขั้วต่อที่สัมผัสกันไม่แน่นทั้งสายไฟ
ภายในอุปกรณ์และสายไฟภายนอก
อุปกรณ์ที่มีแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น TV คอมพิวเตอร์ ฯลฯ


                                              

 

-อุปกรณ์พวกนี้นอกจากจะมีจุดขั้วต่อที่สามารถสัมผัสกันอย่างไม่แน่นหนาแล้วบนแผงวงจรก็อาจมีอุปกรณ์บางตัวที่ต้องเกิดความร้อนสูงและต้องมีระบบระบายความร้อน หากการระบายความร้อนระบายได้ไม่ดีก็อาจเกิดอุณหภูมิที่สูงขึ้นจนอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้

ข้อควรระวังป้องกันเพื่อลดโอกาสการเกิดเพลิงไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า

1. ติดตั้งอุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เมื่อกระแสไฟฟ้าเกินขนาดที่กำหนด หรือเกิดลัดวงจร เช่น
   ฟิวส์ที่สะพานไฟ และเบรกเกอร์ โดยต้องสัมพันธ์กับขนาดสายไฟและการใช้ไฟภายในบ้าน
2. ไม่ใช้ปลั๊กพ่วงต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชิ้นเกินไป
3. หมั่นตรวจสอบการชำรุดเสื่อมสภาพของสายไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า สำรวจปลั๊กขั้วต่อต่างๆ ไม่ให้หลวม
4. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม ของที่ไม่ได้มาตรฐานอาจทำด้วยวัสดุที่ติดไฟง่าย โอกาสที่จะเกิดการลามไหม้จากสายไฟฟ้าไปยังวัสดุก็จะมีมากกว่า
5. อ่านคู่มือการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้น และปฏิบัติตามคำแนะนำจากคู่มือโดยเคร่งครัด
6. เมื่อไม่ได้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ทำการถอดปลั๊กออก และเมื่อจะออกจากบ้านโดยไม่มีใครอยู่บ้าน ให้สับสะพานไฟหรือเบรกเกอร์ลง


                      ด้วยความปรารถนาดี จาก   สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ   สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 


เว็บไซต์เเนะนำ

   

   

   

     

รวมเว็บไซต์สื่อมวลชน


ค้นหา
ข่าวประชาสัมพันธ์